Page 210

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-20 Butis koilomatodon (Bleeker, 1849) บู่เกล็ดแข็ง (ภาพที่ 5.55 33.1 mm SL) ลำตัวป้อมและค่อนข้างลึก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากสั้น หัวแบนข้าง มีสัน กระดูก (crest) ระหว่างตา ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ลำตัวเป็นสีดำ มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยและเค็มในเขต Indo-Pacific Oxyeleotris marmorata (Bleeker, 1852) บู่ทราย (ภาพที่ 5.56 39.6 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอน ชัดเจน มีแถวเกล็ดในแนวระนาบบนลำตัว 80-90 แผ่น ลำตัวสีน้ำตาลเข้มและมีจุดหรือลายสีเหลือง อมน้ำตาลหรือสีทองกระจาย มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Acentrogobius viridipunctatus (Valenciennes, 1837) บู่ (ภาพที่ 5.57 29.1 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก ส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย หัวมนปากกว้าง ครีบหลังแยก เป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบท้องซา้ยขวาเชื่อมติดกันเปน็รูปทรงคลา้ยชาม มีจุดเขียวที่มีประกาย กระจายบนลำตัว มีแถบดำที่มีรูปทรงคล้ายอักษรตัว “L” อยู่บนแก้ม มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยและน้ำเค็มของเขต Indo-Pacific Brachygobius sp. บู่หมาจู (ภาพที่ 5.58 10.7 mm SL) ลำตัวค่อนข้างสั้นและป้อมส่วนท้ายค่อนข้างแบนข้าง หัวแบนลงเล็กน้อย ครีบหลังแยก เป็นสองตอนชัดเจน ครีบท้องซ้ายขวาเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงคล้ายชาม มีแถบตวามขวางบนลำตัว 3 แถบ บนหัว 1 แถบ (ผ่านตา) มีจุดสีดำ 3 จุดบนคอดหาง เนื่องจากอนุกรมวิธานของปลาในสกุล Brachygobius มีความสับสนอยู่ จึงไม่สามารถระบุสถานภาพของปลาชนิดนี้ได้ในระดับชนิดได้ Eugnathogobius cf. siamensis บู่ (ภาพที่ 5.59 36.1 mm SL) รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above