Page 211

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

5-21 ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอก ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนอย่างชัดเจน ครีบท้องซ้ายขวา เชื่อมติดกันเป็นรูปทรงคล้ายชาม ตัวผู้ (ในรูป) มีปากขนาดใหญ่ มีจุดดำขนาดกลางดังถึงใหญ่ รูปทรงไม่แน่นอนบนลำตัว มีการกระจายพันธุ์ในเขตน้ำจืดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Gobiopterus chuno (Hamilton, 1822) บู่ใส (ภาพที่ 5.60 11.3 mm SL) ลำตัวยืดยาวเป็นทรงกระบอกแบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนอย่างชัดเจน ลำตัวใสขาวหรือขุ่น ครีบท้องซ้ายขวาเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงคล้ายชาม หัวกลม มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำจืดและน้ำกร่อยในเอเชียเขตร้อน Oxuderces dentatus Eydoux & Souleyet, 1850 บู่ (ภาพที่ 5.61 47.5 mm SL) ลำตัวยาวเป็นทรงกระบอก ฐานครีบหลังยาวและแยกเป็น 2 ตอนอย่างชัดเจน ฐานครีบ ก้นยาว ปลายขากรรไกรบน มีฟันคล้ายฟันเขี้ยวที่พัฒนาดี มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อย ของ Indo-Pacific Periophthalmus novemradiatus (Hamilton, 1822) ตีน (ภาพที่ 5.62 47.4 mm SL) ลำตัวยืดยาวและแบนข้าง ตาโตโผล่ขึ้นเหนือหัว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนอย่างชัดเจน มี แถบสีดำและจุดสีแดงบนครีบหลังในบริเวณที่ใกล้ขอบและใกล้ลำตัวตาม ลำดับ มีพฤติกรรม เคลื่อนไหวบนบกโดยใช้ครีบอกและลำตัว ใช้ผิวหนังที่อยู่ระหว่างตาเป็นอวัยวะหายใจ มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยของมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอันดามัน และ West Pacific Pseudogobius javanicus (Bleeker, 1856) บู่ (ภาพที่ 5.63 29.4 mm SL) ลำตัวค่อนข้างยืดยาวและแบนข้าง หัวแบนลงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นไปข้างหน้ามากกว่า ขากรรไกรบน ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบท้องซ้ายขวาเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงคล้ายชาม ลำตัวและหัวเป็นสีเทาอ่อน มีจุดดำ 1 จุดที่ส่วนท้ายของครีบหลังตอนหน้า มีการกระจายพันธุ์กว้างในเขตน้ำกร่อยของเขต Indo-West Pacific รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above