Page 28

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-7 Pi = สัดส่วนของจำนวนชนิดพันธุ์ที่ i ต่อผลรวมของจำนวนทั้งหมดในสังคม (N) S = จำนวนชนิดพันธุ์ทั้งหมดในพื้นที่ (5) จำแนกกลุ่มสังคมพืชและจัดเรียงลำดับสังคมพืช (cluster and ordination analysis) โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ PC-ORD version 4 ผลการศึกษา ผลจากการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยทราย โดยการแปลภาพดาวเทียม spot-5 ปี พ.ศ.2550 สามารถจำแนกพื้นที่ป่าไม้ได้ทั้งหมด 5 ชนิด โดยในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธรพบมีพื้นที่ป่าปกคลุม 3 ชนิด ได้แก่ พื้นที่ป่าชายเลน (Mangrove forest) จำนวน 189.68 ไร่ พื้นที่ป่าชายหาด (Beach forest) จำนวน 136.61 ไร่ และพื้นที่ป่าฟื้นฟูทดแทน (Successional forest/secondary forest) จำนวน 362.73 ไร่ ส่วนบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำ ริห้วยทราย พบพื้นที่ป่าปกคลุม 2 ชนิด ได้แก่ ป่าเต็งรัง (Drydipterocarp forest) ไร่ จำนวน 4016.57 ไร่ และ ป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest) จำนวน 2530.88 ไร่ จากการสำรวจโครงสร้างและองค์ประกอบพรรณพืช (structure and species composition) บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดำริห้วยทราย ในพื้นที่ 5 ชนิดป่า โดยสุ่มเลือกจุดพิกัดแปลงตัวอย่างให้ กระจายทั่วทั้งพื้นที่ในแต่ละชนิดป่า จากนั้นทำการวางแปลงสำรวจขนาด 20 m. x 50 m. ในแต่ละ จุดพิกัด โดยมีจุดเก็บตัวอย่างข้อมูลทั้งหมดจำนวน 24 จุด โดยมีจำนวนแปลงตัวอย่างภายในป่า ชายเลน ป่าชายหาด ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และพื้นที่ป่าทดแทน จำนวน 6, 3, 6, 6 และ 3 แปลง ตามลำดับ รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above