Page 55

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

2-34 หญ้าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป พรรณไม้เด่นในชั้นเรือนยอด เป็นกลุ่มของไม้วงศ์ยางที่ผลัดใบ สามารถ จำแนกโครงสร้างด้านตั้งออกได้ 3 ชั้นเรือนยอด (ภาพที่ 2.11) คือ 1) เรือนยอดชั้นบน มีความสูงถึง 15-20 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ ได้แก่ เต็ง รัง พะยอม ยางเหียง รกฟ้า (Terminalia alata Heyne ex Roth) สมอไทย (T. chebula Retz. var. chebula ) และ กระบก (Irvingia malayana Oliv. ex A.W.Benn.) เป็นต้น 2) เรือนยอดชั้นรอง มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร ไม้เด่นในชั้น เรือนยอดนี้ ได้แก่ แครกฟ้า (Heterophragma sulfureum Kurz) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) เหมือดโลด (Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill.) ตับเต่าต้น (Diospyros ehretiodes Wall. ex G.Don) และมะม่วงหัวแมงวัน (Buchanania lanzan Spreng.) เป็นต้น และ 3) เรือนยอดชั้นล่าง มีความสูงของต้นไม้ไม่เกิน 5 เมตร ไม้เด่นในชั้นเรือนยอดนี้ เป็นพืชใน วงศ์หญ้า (Gramineae) และไม้ล้มลุกในวงศ์ถั่ว (Leguminoseae) รวมถึงไม้ล้มลุกอื่นๆ ได้แก่ เลา (Saccharum spontaneum L.) ไผ่เพ็ก ถั่วผี (Cajanus crassus (Prain ex King) Maesen) และ มะหิ่งดง (Crotalaria bracteata Roxb. ex DC.) เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วพรรณไม้พื้นล่างของป่าเต็ง รังประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่มีสภาพทางนิเวศวิทยาเหมาะสมกับการดำรงชีพในที่แห้งแล้งและมีไฟป่า บ่อยครั้ง ตลอดจนมีการปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาลที่มีการแบ่งแยกค่อนข้างเด่นชัดระหว่างช่วงการ เจริญเติบโตและช่วงพัก พืชส่วนใหญ่ในชั้นนี้สืบพันธุ์ด้วยหัว เมล็ด หน่อใต้ดินหรือการแตกหน่อ จากราก ส่วนที่เป็นลำต้นมักตายหมดไปและกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี การตอบสนองต่อปัจจัย แวดล้อมที่เหมาะสมเป็นไปอย่างรวดเร็ว คือ สามารถก่อกิจกรรมเพื่อให้ครบวงจรของชีวิตได้ ภายในช่วงเวลาอันสั้น พืชสำคัญในชั้นนี้ได้แก่ ไผ่เพ็ก โจด (Vietnamosasa ciliata (A.Camus) Nguyen) มหาก่าน (Linostoma persimile Craib) ปอเต่าไห้ (Helicteres hirsute Lour.) ส้มกั้ง (Premna herbacea Roxb.) ส้านดิน (Dillenia hookeri Pierre) เปราะป่า (Kaempferia marginata Carey) นางอั้ว (Pecteilis susannae (L.) Raf.) ไก่อู (Decaschistia parviflora Kurz) ขึ้นผสมกับพืชล้มลุกและหญ้าอีกหลายชนิด ความหนาแน่นของพืชชั้นล่างแปรผันตามปริมาณแสง ที่ลอดผ่านเรือนยอดชั้นบน ๆ ลงมา ส่วนที่เรือนยอดชั้นบนค่อนข้างหนาแน่นและต่อเนื่อง กว้างขวาง ความหนาแน่นของพืชคลุมผิวดินมักมีน้อย แต่ในส่วนที่ป่ามีเรือนยอดค่อนข้างเปิดพืช คลุมดินมักแน่นทึบ จากการวางแปลงศึกษาความสำคัญของพรรณไม้ในป่าชนิดนี้ โดยพิจารณาตามค่าดัชนี ความสำคัญของพรรณไม้ พบว่า ชนิดไม้ที่มีความเด่นมากที่สุดคือ รัง รองลงไปคือ กุ๊ก (Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.) ตะแบกเลือด (Lagerstroemia calyculata Kurz) แดง (Xylia รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above