Page 86

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

3-20 (2.2.2) ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในภาคสนามให้ครบทั้ง 3 ฤดู โดยเก็บ ตัวอย่างพืชมีท่อลำเลียง (vascular plants) ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มพืชมีดอก (angiosperms หรือ flowering plants) จำแนกออกเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledons) และพืชใบ เลี้ยงเดี่ยว (monocotyledons) กลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperms) และกลุ่มเฟิร์นและพืช ใกล้เคียงเฟิร์น (ferns and fern allies) เก็บตัวอย่างหมายเลขละ 3-5 ชิ้น ซึ่งต้องเก็บตัวอย่าง พรรณไม้ให้ได้ตัวอย่างที่สมบูรณ์ คือ กิ่งที่มีใบพร้อมดอก และ/หรือผล (พืชมีดอก) ใบที่สร้างสปอร์ (เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น) โคน (cone) หรือสตรอบิลัส (strobilus) (พืชเมล็ดเปลือย) เพื่อนำมา ศึกษาในห้องปฏิบัติการ และทำตัวอย่างพรรณไม้แห้งและดอง (2.2.3) ถ่ายภาพเพื่อบันทึกลักษณะต่าง ๆ เช่น ลักษณะวิสัย ถิ่นที่อยู่ รูปร่าง ลักษณะ และสีของใบ ดอก และผล เป็นต้น บันทึกข้อมูลภาคสนามด้านนิเวศวิทยา ได้แก่ ชนิดสังคมพืช สภาพถิ่นที่อยู่ และความสูงจากระดับน้ำทะเล บันทึกข้อมูลพรรณไม้ ได้แก่ ลักษณะวิสัย ความสูง ของต้น ลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อทำเป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และ/หรือดอง เช่น สีของดอกและผล ขนาดของดอกและผล เป็นต้น และบันทึกข้อมูลอื่น ๆ ได้แก่ สถานที่ พิกัดตำแหน่ง และวัน เดือน ปีที่เก็บตัวอย่าง ชื่อพื้นเมือง (ถ้ามี) และการใช้ประโยชน์ (ถ้ามี) (2.3) การศึกษาตัวอย่างพรรณไม้ในห้องปฏิบัติการ ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บมาจากภาคสนามโดย ละเอียด เพื่อการระบุพืช (plant identification) ซึ่งเป็นการตรวจหาชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง โดย ใช้รูปวิธานระบุชนิด เทียบเคียงกับคำบรรยายลักษณะพืช และภาพวาดลายเส้น (ถ้ามี) จาก หนังสือพรรณพฤกษชาติ วารสาร และสิ่งพิมพ์ด้านอนุกรมวิธานพืช เช่น Flora of Thailand, Flora of British Burma, Flora of British India, The Flora of the Malay Peninsula, Tree Flora of Malaya, Thai Forest Bulletin และอื่น ๆ จากนั้นจึงนำไปเทียบเคียงกับตัวอย่างพรรณไม้แห้งและ ดองในหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) และพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร (ชื่อเดิมคือพิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ) กรมวิชาการเกษตร (BK) ที่ได้รับการยืนยันชื่อพฤกษศาสตร์ที่ ถูกต้องโดยนักพฤกษศาสตร์ที่เชี่ยวชาญ (ถ้ามี) เพื่อยืนยันความถูกต้องในการระบุพืช รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above